วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ฟุตบอล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติฟุตบอล

ฟุตบอล

ประวัติฟุตบอล ความเป็นมาของฟุตบอล

ประวัติฟุตบอล – ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่น
มากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ซูเลอ” (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา “แกลโล-โรมัน” (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ

วิวัฒนาการของฟุตบอล

ภาคตะวันออกไกล
ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ “กังฟู” เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้าและศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล) มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า”ซือ-ซู” (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่องผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ภาคตะวันออกกลาง
ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงคราม โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลาง
ในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสองคือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนามของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล
ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร) ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 – 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนามซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน ห่างกัน 2-3 ฟุต
ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบและกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คน
ในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่นรักษาประตู 2 คน โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอนเพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football
ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรป
ในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435
ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7 เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่ โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมาก
กีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก
การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตามของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)
เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่ มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เคยเป็นสนามรบ และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะของพวกเคนส์ อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจคนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้ คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมาก ต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น เทคนิคการเล่น ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday) จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมาก
ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก
ฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412 ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้งสมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484
ในทวีปเอเชีย
อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรก ในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่น สมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์ ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปี
ในแอฟริกา
สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส
การแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460 เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ และแคริบเบี้ยน ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
1.) Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น
2.) America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น
3.) South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย เป็นต้น
4.) Asia (A.F.C.) เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน และเนปาล เป็นต้น
5.) Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
6.) Oceania เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท
สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
ในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้
  • พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
  • พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศ
  • พ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศ
  • พ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk
  • พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C. และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
  • พ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา
งานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth
– ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cup
นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการ
สรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล
ก่อนคริสตกาล – อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมัน
ยุคกลาง – ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส
  • ปี พ.ศ. 1857 – พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล เพราะจะรบกวนการยิงธนู
  • ปี พ.ศ. 2104 – Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์
  • ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ
  • ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้ชาร์ลที่ 2
  • ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
  • ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
  • ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ
  • ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน
  • ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ และเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน
  • ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ
  • ปี พ.ศ. 2447 – ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์
  • ปี พ.ศ. 2480 – 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม โดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง







บาสเก็ตบอล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บาสเกตบอล 

 บาสเกตบอล 

ประวัติบาสเกตบอล มีความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2434 โดย Dr.James Naismith อาจารย์พลศึกษาของโรงเรียนคนงานคริสเตียน ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยสปริงฟิล เมืองสปริงฟิล รัฐแมสซาชูเซส สหรัฐอเมริกา  ขณะนั้นผู้ฝึกสอนฟุตบอลของโรงเรียนต้องการให้มีการแข่งขันกีฬาในร่มสำหรับนักเรียนระหว่งฤดูหนาว
 และได้กำหนดกติกาพื้นฐาน 5 ข้อ ดังนี้
  1. ผู้เล่นใช้มือเล่นลูกบอล
  2. ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลวิ่ง
  3. ผู้เล่นสามารถยืนตำแหน่งใดก็ได้ในสนาม
  4. ผู้เล่นห้ามปะทะหรือถูกต้องตัวกัน
  5. ห่วงประตูติดตั้งไว้เหนือพื้นสนามขนานกับเส้นเขตสนาม
Dr.James Naismith ได้ใช้ไม้รูปร่างคล้ายผลท้อจัดทำเป็นห่วงประตู ติดตั้งไว้ที่ระเบียงห้องโถงตามความสูงของระเบียง ประมาณ 10 ฟุต ครั้งแรกใช้ลูกฟุตบอลโดยมีคนนั่งบนราวบันไดเพื่อหยิบลูกบอลออกจากประตูเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล ต่อมา Dr.James Naismith ได้กำหนดหลักการเล่นขึ้น 13 ข้อ เป็นพื้นฐานของกติกาโดยใช้ทักษะมากกว่าการใช้แรง
พ.ศ.2435 ได้พิมพ์ลงในนิตยสาร ‘Triangle magazine’ ใช้หัวข้อว่า ‘A New Game’

กติกาบาสเกตบอล 13 ข้อ
  1. สามารถโยนลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ
  2. สามารถตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ แต่ต้องไม่ใช้กำปั้น
  3. ห้ามถือลูกบอลวิ่งต้องโยนลูกบอลจากจุดที่ถือลูกบอล ผู้เล่นสามารถวิ่งเพื่อคว้าบอล
  4. ต้องถือลูกบอลด้วยมือ แขนหรือลำตัว ห้ามดึงลูกบอล
  5. ห้ามใช้ไหล่ดัน ผลัก ดึง ตบหรือตี ฝ่ายตรงข้าม หากเกิดการละเมิดให้ถือเป็น ฟาล์ว หาก กระทำซ้ำอีก ถือเป็น ฟาล์วเสียสิทธิ์ จนกว่าจะเกิดการยิงประตูเป็นผลในคราวต่อไป หรือเกิดผู้เล่นบาดเจ็บของผู้เล่นตลอดการแข่งขัน ห้ามเปลี่ยนตัวผู้เล่น
  6. การฟาล์วเป็นการกระแทกลูกบอลด้วยกำปั้นและการผิดระเบียบของกติกาข้อ 3,4 และตาม รายละเอียดตามกติกาข้อ 5
  7. หากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันกระทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้นับคะแนน (การฟาล์วติดต่อกัน หมายถึง เป็นการฟาล์วที่ไม่มีการฟาล์วของฝ่ายตรงข้ามคั่นระหว่างการฟาล์วติดต่อนั้น)
  8. เมื่อลูกบอลถูกตี หรือโยนจากพื้นเข้าประตู ให้นับคะแนน หากลูกบอลค้างก้านห่วงโดยผู้ เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสหรือกระทบประตู ให้นับคะแนน
  9. เมื่อลูกบอลออกนอกสนามให้ส่งบอลเข้าเล่นที่สัมผัสลูกบอลครั้งแรกในกรณี ที่มีผู้คัดค้าน กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) จะโยนบอลเข้าไปในสนาม ผู้เล่น ที่ส่งบอลสามารถใช้เวลาได้ 5 วินาที หากเกินกว่านั้นฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลแทน หากมีการคัดค้านและทำให้การแข่งขัน ล่าช้า กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) สามารถขานฟาล์วเทคนิค
  10. กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) มีหน้าที่ตัดสินและจดบันทึดการฟาล์ว เกิดฟาล์วต่อกัน ครบ 3 ครั้ง ให้แจ้งต่อผู้ตัดสิน (Referee) และสามารถให้ฟาล์วเสียสิทธิ์ ตามกติกาข้อ 5
  11. ผู้ตัดสิน (Referee) มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาด เมื่อลูกบอลเข้าสู่การเล่นในพื้นที่ของเขาและเป็นผู้ จับเวลา ,ให้คะแนนเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล ,จดบันทึกคะแนนและรับผิดชองตามพื้นที่
  12. เวลาการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ๆละ 15 นาที พัก 5 นาที
  13. เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ฝ่ายที่ทำคะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ กรณีมีคะแนนเท่ากันให้ หัวหน้าทีมตกลงกันเพื่อแข่งขันต่อจนกว่ามีฝ่ายใดทำคะแนนได้
ประวัติกีฬาบาสเกตบอล


ประวัติบาสเกตบอล

  • พ.ศ. 2435 เริ่มมีการแข่งขันบาสเกตบอลครั้งแรก ระหว่างนักศึกษากับคณะครู ของวิทยาลัย สปริงฟิล (Springfield College) ผลการแข่งขัน นักศึกษาชนะ 5:1
  • พ.ศ. 2435 เริ่มมีการเผยแพร่เข้าไปเล่นในประเทศเม็กซิโก (Mexico) ในปีเดียวกัน Lew Allen of Hartford ได้ประดิษฐ์ประตูทรงกระบอกที่ทำจากเส้นลวดลักษณะคล้ายกับของ Dr.James Naismith ห่วงประตูยังตงติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม มีตะแกรงป้องกันลูกบอลสำหรับผู้ชมทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีการจัดทำกระดานหลังแผ่นแรกขึ้น มีขนาด 3.6 เมตร * 1.8 เมตร
  • พ.ศ. 2437 บาสเกตบอลแยกออกมาจากฟุตบอล โดยมีคณะกรรมการบาสเกตบอล
    – ในปีเดียวกันนี้มีการรับรองกระดานหลัง ซึ่งมีขนาด 1.8 เมตร * 1.2 เมตร
    – กำหนดให้มีการโยนโทษ
    – เกิดการคิดค้นห่วงประตู มีตาข่ายติดกับห่วงประตูด้วยเส้นเชือก เมื่อเชือกนั้นถูกดึงจะทำให้ลูกบอลผ่านไปได้ และยกเลิกการใช้บันไดตั้งแต่บัดนั้น
    – เริ่มการแข่งขันบาสเกตบอลหญิงเป็นครั้งแรกที่ นอร์ตแฮมตัน ( Northamton )
  • พ.ศ. 2439 เปลี่ยนแปลงกติกาเรื่องการนับคะแนนจากการยิงประตูธรรมดา เป็น 2 คะแนน และนับคะแนนจากการโยนลูกโทษ 1 คะแนน
    – เกิดการแข่งขันระดับวิทยาลัยเป็นครั้งแรกระหว่าง ชิคาโก (Chicago) กับโลวา (Lowa) โดยให้มีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน ผลการแข่งขัน ชิคาโก ชนะ 15:12 ไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
    – Dr.James Naismith ควบคุมกติกา จนกระทั่งมีการจัดตั้งสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นและได้บรรจุกติกาและการเปลี่ยนแปลง
  • พ.ศ. 2440 สหพันธ์ได้กำหนดกติกาโดยให้ทีมมีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน และเป็นที่ยอมรับกัน ทั่วโลก ซึ่งก่อนหน้านี้การเล่นบางครั้งมีผู้เล่นมากกว่า 50 คน ของแต่ละฝ่ายในสนาม
  • พ.ศ. 2448 ได้ขยายเข้าไปในโรงเรียนมัธยม,มหาวิทยาลัย,สมาคม โบสถ์ และทหาร
    – นักศึกษาโรงเรียนกีฬาสปริงฟิลได้นำเผยแพร่ ณ ประเทศฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2452 มีการนำกระดานหลังชนิดกระจกใสเป็นครั้งแรก และได้รับการรับรองในกติกา และผู้เล่นที่ฟาล์วครบ 4 ครั้งให้เป็นฟาล์วเสียสิทธ์
    – ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การแข่งขันบาสเกตบอลได้หยุดชะงักลง ระหว่างนั้นทหารอเมริกัน,ผู้ฝึกสอน และ Dr.James Naismith นำบาสเกตบอลเข้าไปยุโรปเป็นนวัตกรรมการแข่งขัน
  • พ.ศ. 2463 มีการแข่งขัน Inter-Allied Game เป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส (Paris) ผลการแข่ง ขันสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะฝรั่งเศส (France)และอิตาลี (Italy) โดยถือเป็นการแข่งขันระหว่างชาติเป็นครั้งแรก และเป็นการเริ่มต้นไปสู่การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับโลก
  • พ.ศ. 2466 กำหนดการฟาล์วผู้เล่นยิงประตูโทษโดยแยกจากการฟาล์วอื่น ๆ กล่าวคือ การ ฟาล์วบุคคลต่อผู้เล่นกำลังยิงประตูจะต้องมีการโยนโทษ
  • พ.ศ. 2467 เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ณ กรุงปารีส (Paris)
  • พ.ศ. 2470 Abe Saperstein ติดต่อกับ Harlem Gloketrotters. ซึ่งเป็นผู้เล่นจากชิคาโก และ แข่งขันกันครั้งแรกที่ Hinebluy มลรัฐ Illinois ตั้งแต่นั้นมีส่วนทำให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจกีฬาบาสเกตบอลเพิ่มขึ้นกว่า 100 ประเทศ
  • พ.ศ. 2472 จัดตั้งโรงเรียนพลศึกษา ขึ้นที่ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยได้รับความร่วมมือจาก วิทยาลัยสปริงฟิล (Springfield College)
  • พ.ศ. 2475 บาสเกตบอลเป็นที่สนใจและเป็นที่นิยมของคนทั่วโลก และสามารถกล่าวได้ว่า บาสเกตบอลเป็นกีฬามาจาก สหรัฐอเมริกา (USA.)
    – สมาคมบาสเกตบอล ได้จัดการประชุมสัมมนา ณ กรุงเจนีวา (Genrva) และได้มีประเทศก่อตั้งสหพันธ์บาสเกตบอลสมัครเล่นนานาชาติ (FIBA) รวม 8 ประเทศ
    – FIBA ได้กำหนดและจัดทำกติกาบาสเกตบอลอย่างละเอียด ดังนี้
    1. แต่ละทีมมีผู้เล่นได้ 5 คน เปลี่ยนผู้เล่นสำรองได้ 2 คน 2 ครั้ง
    2. ภายหลังจากการทำคะแนนปกติหรือจากการโยนโทษ ให้เริ่มการแข่งขันด้วยลูกกระโดด ณ วงกลมกลาง
    3. มอบหมายให้ Technical Commission ประชุมตกลงเปลี่ยนแปลงกติกาทุก ๆ 4 ปี ภายในปีที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
  • พ.ศ. 2478 จัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลชายชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ณ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ประเทศ ในครั้งนั้นทีมชนะเลิศ คือ ประเทศแลตเวีย (Latvia) ซึ่งชนะ ประเทศสเปน (Spain) ด้วยคะแนน 24 :18
    – การประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ณ กรุงออสโล (Oslo) และได้รับการบรรจุในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไป ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin) นับเป็นรายการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดครั้งแรงของบาสเกตบอล และในการแข่งขันครั้งนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะเลิศ โดยชนะคู่ชิง ประเทศแคนาดา (Canada) ด้วยคะแนน 19:8 ผู้ให้เกียรติมอบเหรียญรางวัล คือ Dr.James Naismith
    – FIBA จัดการประชุม ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin)โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1. ให้เกิดความสมดุลและเสมอภาคระหว่างผู้เล่นฝ่ายป้องกันและฝ่ายรุก
    2. จำกัดความสูงของผู้เล่น
    3. ขอเวลานอกได้ 3 ครั้ง
    4. ยกเลิกการเล่นลูกกระโดดหลังจากเกิดทำคะแนนได้ ให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลังแทน
    5. แบ่งสนามเป็นสองส่วน
    6. เริ่มใช้กติกาว่าด้วย 10 วินาทีในแดนหลัง
    7. ฟาล์วบุคคลของผู้เล่นเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
  • พ.ศ. 2483 Dr.James Naismith ผู้คิดค้นกีฬาบาสเกตบอล ได้เสียชีวิต
  • พ.ศ. 2491 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 , FIBA ได้ประชุม ณ กรุงลอนดอน (London) โดยมี รายละเอียดที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
    – เริ่มนำกติกาว่าด้วย 3 วินาที
    – ห้ามผู้เล่นที่มีความสูงยืนใต้ห่วงประตู
    – เพิ่มผู้เล่นสำรองจาก 5 คน เป็น 7 คน
    – ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
    – ให้ส่งบอลแทนการโยนโทษในช่วงเวลา 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน
    – ให้ยกเท้าหลักได้ก่อนการยิงประตู ,ส่งบอล หรือเลี้ยงบอล
    – ผู้เล่นชาวเอเชียเริ่มใช้วิธีการกระโดดยิงประตู
  • พ.ศ. 2492 จัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลอาชีพ NBA
  • พ.ศ. 2493 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศชายของโลก ณ ประเทศอาเจนตินา (Argentina)
  • พ.ศ. 2494 จัดการแข่งขัน NBA-ALL STAR เป็นครั้งแรก ณ กรุงบอสตัน (Boston) ในครั้งนั้นฝั่งตะวันออก ชนะ ฝั่งตะวันตก ด้วยคะแนน 111 : 94
  • พ.ศ. 2495 หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเฮลซิงกิ (Helsinki) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
    – เพิ่มฟาล์วบุคคลเป็น 5 ครั้ง (Foul-out)
    – เกิดการแข่งขันที่น่าเบื่อ เนื่องจากทีมเล่นช้าลงมากโดยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้ เกิดช่องว่างของการพัฒนาเกมการแข่งขัน
  • พ.ศ. 2496 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของโลก ณ ประเทศชิลี (Chile)
  • พ.ศ. 2497 Danny Biason เสนอแนะข้อสรุป และใน NBA เริ่มใช้กติกาใหม่ เพื่อให้เกมการ แข่งขันรวดเร็ว โดยให้ทีมครอบครองบอลต้องยิงประตู ภายใน 24 วินาที
  • พ.ศ. 2499 ในการแข่งขัน ณ กรุงเมลเบอร์น (Melbourne) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
    – ฝ่ายรุกต้องยิงประตู ภายในเวลา 30 วินาที
    – กำหนดเขตโยนโทษ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู บริเวณใต้ห่วงประตู
    – FIBA Technical Commission ทบทวนความสมดุลและเสมอภาคของผู้เล่นฝ่ายรุกและฝ่ายป้องกัน การยิงประตูยกเท้าหลักแล้วปล่อยบอลหลุดจากมือ และการเลี้ยงบอลต้องปล่อยบอลหลุดจากมือก่อนยกเท้าหลัก
    – เกิดการกระโดดยิงประตูได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการยิงประตู , การส่งบอล และการเลี้ยงบอล
    – เกิดยุทธวิธีกำบัง (Screen) การเล่นเต็มสนามของผู้เล่นทำให้ยากต่อการจัดการ
  • พ.ศ. 2501 จัดการแข่งขันชายชิงชนะเลิศชายของสโมสรยุโรป
  • พ.ศ. 2502 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของสโมสรยุโรป
  • พ.ศ. 2503 FIBA ประชุม ณ กรุงโรม (Rome) มีการเปลี่ยนแปลง ดังรายละเอียดดังนี้
    – 5 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน เกิดการฟาล์วบุคคลจะลงโทษด้วยการโยนโทษ 2 ครั้ง
    – กระทำฟาล์วแล้วยิงประตูเป็นผล ให้ยกเลิกคะแนน
    – ทั้งสองทีมทำฟาล์วซึ่งกันและกัน และบทลงโทษเท่ากัน ให้ยกเลิกบทลงโทษของการโยนโทษ หากบทลงโทษไม่สามารถยกเลิกได้ ให้โยนโทษได้ไม่เกิน 2 ครั้งและครอบครองบอล
    – การเปลี่ยนแปลงของบทลงโทษที่สลับซ้ำซ้อนทำให้บางครั้งเป็นสถานการณ์ที่ยุ่งยากสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน เมื่อต้องมีการนับการยกเลิกบทลงโทษ และจำนวนของการโยนโทษที่เหลือ ทำให้บางครั้งผู้ชมหรือผู้เล่นไม่เข้าใจและเกิดความสับสน
  • พ.ศ. 2507 เริ่มใช้ ช่วงการเล่น (Play Phase)
    – FIBA ได้ประชุม ณ กรุงโตเกียว (Tokyo) ตกลงให้จัดทำหนังสือกติกาที่เข้าใจง่าย
    – เกิดระบบของการรุก และมีการยิงประตูทำคะแนนได้เพิ่มขึ้น ความแข็งแกร่งของผู้เล่นมีความสำคัญ เนื่องจากกีฬาบาสเกตบอลค้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา
  • พ.ศ. 2515 หลังจากการแข่งขันโอลิมปิก ณ ประเทศเม็กซิโก (Mexico), FIBA ได้ กำหนดการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของกติกาดังนี้
    – กำหนดหลักทรงกระบอกเหนือห่วงประตู ยกเลิกการห้ามผู้เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตู เมื่อลูกบอลกระทบห่วงประตูผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสามารถเล่นได้
    – 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วจะได้โยนโทษ 2 ครั้ง
    – หากเกิดฟาล์วทีมให้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการโยนโทษ
  • FIBA มีการประชุม ณ กรุงมิวนิค (Munich) และได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
    – ยกเลิก 3 นาทีสุดท้าย ให้ใช้กับทุกนาทีในการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วผู้เล่นที่ไม่มีบอล ให้ส่งบอลเข้าเล่น
    – การเปลี่ยนแปลงกติกาทำให้ผู้เล่นฝ่ายป้องกันสามารถละเมิดการฟาล์วเพื่อทำให้ ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่อยู่ในตำแหน่งยิงประตู
  • พ.ศ. 2516 การแข่งขันชิงชนะเลิศของทวีปยุโรป ณ กรุงบาร์เซโลนา (Barselona) การฟาล์วช่วงใหล้หมดเวลาการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การฟาล์วเฉลี่ยต่อเกมสูงถึง 61 ครั้ง ซึ่งมีผลกระทบต่อการแข่งขันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ FIBA ไม่สามารถรอจนถึงการประชุมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งหน้า ดังนั้น FIBA จึงมีการประชุมและกำหนดตกลงดังนี้
    – “หากแต่ละครึ่งเวลาทีมกระทำฟาล์วครบ10 ครั้ง จะถูกโยนโทษ 2 ครั้ง ” สำหรับการฟาล์วของทีมครอบครองบอลให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นข้าง
  • พ.ศ. 2517 เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้การฟาล์วทีมครบ 10 ครั้ง
  • พ.ศ. 2519 ประชุม FIBA ณ กรุงมอลทรีออล (Montreal) มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงใหม่ดังนี้
    – ให้มีการใช้กติกาว่าด้วยการฟาล์วทีม 10 ครั้ง บทลงโทษ โยนโทษ 2 ครั้ง
    – ผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาล์วขณะกำลังยิงประตู บทลงโทษให้ได้โยนโทษใน 3 ครั้ง หากการยิงประตูธรรมดานั้นเป็นผล ให้นับคะแนนและได้โยนโทษ 1 ครั้ง
  • พ.ศ. 2523 ประชุม FIBA ณ กรุงมอสโคว์ (Moscow) เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
    – ลดจำนวนการฟาล์วทีมรวม เหลือ 8 ครั้ง
    – ฟาล์วเทคนิคที่นั่งทีม และหากฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอนครบ 3 ครั้ง ให้เป็นการฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้ฝึกสอน
    – ได้จัดทำเอกสารข้อแนะนำกติกาสำหรับวิธีการพิจารณาหลักการประทะโดยกำหนดผู้เล่นใดที่ต้องรับผิดชอบต่อการปะทะนั้น ( ใช้หลักของแนวดิ่ง หมายถึง ช่องว่างเหนือผู้เล่นที่เป็นรูปทรงกระบอก โดยผู้เล่นที่ลอยตัวในอากาศอย่างถูกต้องจะลงสู่พื้นตำแหน่งเดิมก่อนการกระโดด และการป้องกันอย่างถูกต้องนั้นเป็นลักษณะใด รวมถึงการพิจารณาการสกัดกั้น)
  • พ.ศ. 2527 FIBA ได้กำหนดกติกาใหม่ดังนี้
    – เริ่มใช้การยิงประตู 3 คะแนน (NBA เริ่มใช้เมื่อปี 2526 โดยกำหนดการพยายามยิงประตู 3 คะแนน ด้วยเส้นที่ห่างจากห่วงประตู 6.25 เมตร, NBA 7.24 เมตร ) เป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับผู้เล่นที่รูปร่างเล็กสามารถทำคะแนนได้
    – ขนาดสนามเปลี่ยนเป็น 15 เมตร * 28 เมตร
    – ฟาล์วทีมรวมลดลงเหลือ 7 ครั้ง บทลงโทษ 1+1 (ผู้เล่นโยนโทษครั้งแรกพลาดให้การแข่งขันดำเนินต่อไปทันที)
    – ยกเลิกการโยนโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตูโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตู 2 ใน 3 ให้ใช้บทลงโทษของการพยายามยิงประตูตามพื้นที่ (หากพยายามยิงประตู 2 คะแนนไม่เป็นผล ให้โยนโทษ 2 ครั้ง หากพยายามยิงประตู 3 คะแนนไม่เป็นผลให้โยนโทษ 3 ครั้ง)
    – บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน เปลี่ยนเป็น โยนโทษ 2 ครั้ง และได้ครอบครองบอล
  •  พ.ศ. 2529 FIBA World Congress ได้กำหนดการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
    – ให้มีการฟาล์วเจตนาและฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้เล่น ให้โยนโทษ 2 หรือ 3 ครั้ง และเพิ่มการครอบครองบอล จุดประสงค์เพื่อเพิ่มชนิดของการฟาล์วซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการแข่งขัน
  • พ.ศ. 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
    – ยกเลิกสิทธิ์ในการเลือกสำหรับการส่งบอลเข้าเล่นและช่วงการเล่น (Play Phase) ยกเลิกข้อจำกัดของการโยนโทษที่เกิดขึ้น ไม่มีข้อยุ่งยากสำหรับทุกคน
    – กำหนดเขตที่นั่งทีม
    – หากผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมลุกออกจากที่นั่งทีมอย่างไรจึงถูกขานฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน และลุกออกจากที่นั่งทีมขณะเกิดการชกต่อย ให้ขานฟาล์วเสียสิทธิ์ทันที
    – ให้กรรมการผู้ตัดสินยื่นส่งบอลให้แก่ผู้เล่นทุกจุดที่มีการส่งบอลเข้าเล่น
    – ห้ามผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นก้าวเท้าเกินกว่า 1 เมตร ในทิศทางเดียวกันก่อนการปล่อยบอลจากการส่ง
    – ผู้เล่นที่ยืนช่องโยนโทษเข้าแย่งบอลจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวเมื่อลูกบอลหลุดจากมือของผู้โยนโทษ
    – ผู้ตัดสินสามารถแก้ไขความผิดผลาดที่เกี่ยวกับการโยนโทษและคะแนน
  • พ.ศ. 2535 FIBA เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอาขีพสามารถลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุง บาร์เซโลนา (Barcelona) ซึ่งเรียกว่า ‘Dream Team’ ได้รับการสนใจจากบุคคลทั่วโลก
  • พ.ศ. 2537 FIBA ได้ปรับปรุงกติการ ดังนี้
    – กำหนดระบบการแข่งขัน 2 x 20 นาที หรือ 4×12 นาที
    – การส่งบอลเข้าเบ่นให้ส่งใกล้จุดเกิดเหตุ รวมถึงเส้นหลัง
    – ผู้เล่นกำลังยิงประตู ให้นับรวมถึงกรณีผู้เล่นการลอยตัวในอากาศจากการยิงประตูจนกว่าเท้าสัมผัสพื้นทั้งสองข้าง
    – สามารถกระโดดยัดห่วง (Alley-oop) จากการส่งบอลและลูกบอลนั้นย้อยลงมาเหน็จห่วงได้
    – เปลี่ยน ‘ฟาล์วเจตนา’ เป็น ‘ฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา’
    – ยกเลิกบทลงโทษ ‘1+1′ ให้ใช้บทลงโทษการโยนโทษ 2 ครั้ง แทน
    – หากผู้เล่น,ผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีม ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ ต้องออกจากสนามแข่งขันกลับไปยังห้องพักหรือออกจากอาคารการแข่งขัน
    – จากสถานการณ์การโยนโทษ ให้มีผู้เล่นทั้งสองทีมทำการแย่งลูกบอลในช่องยืนโยนโทษ ไม่เกิน 6 คน (รวมผู้โยนโทษด้วย ทีมละ 3 คน)
  • พ.ศ. 2541 FIBA ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา ดังนี้
    – ยกเลิก ‘บอลเข้าสู่การเล่น (Ball in Play)’
    – เปลี่ยนแปลง ‘บอลดี’ ขณะส่งบอลเข้าเล่นและการเล่นลูกกระโดด
    – ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 3 ครั้ง
    – 2 นาทีสุดท้ายของครึ่งเวลาหลังหรือช่วงต่อเงลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูธรรมดาเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด
    – ผู้เล่นผ่ายรุก และฝ่ายป้องกัน ห้ามสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตูและขณะลูกบอลการะทบกระดานหลังจากการยิงประตู
    – บทลงโทษของการฟาล์วคู่ ทีมที่ครอบครองบอลแล้วเกิดกระทำฟาล์วคู่ ยังคงได้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการเล่นลูกกระโดด
    – ใช้ ‘ ฟาล์วเทคนิคขาดน้ำใจนักกีฬา ‘ ให้โยนโทษ 2 ครั้งและครอบครองบอล
  • พ.ศ. 2543 Central Broad of FIBA ได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
    – ระบบการแข่งขัน เป็น 4 period ๆ ละ 10 นาที (4X10 นาที)
    – ฟาล์วทีมรวมเหลือ 4 ครั้งต่อ period ครั้งต่อไปให้โยนโทษ 2 ครั้ง
    – พักการแข่งขัน period ที่ 1-2,3-4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ 2 นาที พักการแข่งขัน period ที่ 2-3 เป็นเวลา15 นาที
    – ขอเวลานอก period ที่ 1,2,3หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษได้ 1 ครั้ง ขอเวลานอก period ที่ 4 ได้ 2 ครั้ง
    – ให้เวลานอก 1 นาทีเต็ม ถึงแม้ทีมที่ขอเวลานอกพร้อมแข่งขัน
    – เปลี่ยนกติกาว่าด้วย 30 วินาที และนาฬิกา 24 วินาทีเริ่มต้นนับใหม่เมื่อลูกบอลหลุดจากมือจากการยิงประตูและสัมผัสห่วงประตู หากลูกบอลลอยในอากาศจากการยิงประตูแล้วเสียงสัญญาณ 24 วินาทีดังขึ้นนาฬิกาแข่งขันหยุดทันที หากบอลเข้าห่วงประตู ให้นับคะแนน หากไม่ลงถือเป็นผิดระเบียบ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลเข้าเล่น
    – ทีมครองครองบอลต้องพาบอลสู่แดนหน้า ลดเหลือ 8 วินาที
    – ช่วง 2 นาทีสุดท้ายของ period ที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด ทีมที่มีสิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่นจากการเสียประตู ขอเปลี่ยนตัวได้ และฝ่ายตรงข้ามขอเปลี่ยนตัวตามได้
    – FIฺBA จะใช้ระบบการตัดสิน 3 คน สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก
    – สำหรับระบบการตัดสินใจ 3 คน หากฝ่ายจัดการแข่งขันพิจารณาแลัวและมีความเห็นให้ใช้ก็สามารถกระทำได้
    – บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้เล่น ให้โยนโทษ 1 ครั้ง และครอบครองบอล
  • พ.ศ. 2543 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารการวินิจฉัยและตีความอธิบายรายละเอียดของกติกาและเหตุการณ์ที่เกิดให้ชัดเจนขึ้น
  • พ.ศ. 2544 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารเน้นจุดสำคัญของการปฏิบัติ เช่น การลงโทษ,การพิจารณาการเล่นที่ได้เปรียบ/เสียเปรียบ
    – ได้เผยแพร่เอกสารเน้นการแข่งขันอย่างรวดเร็ว,การเคลื่อนที่ของผู้ตัดสินในสนาม, ระบบการตัดสินที่ชัดเจน และการวินิจฉัยตีความเพื่อแนวทางในมื่อเกิดเหตุการณ์ในสนาม
  • เมื่อสิ้นทศวรรตที่ 20 (พ.ศ.2543) ประมาณกันว่ามีผู้นิยมกีฬาบาสเกตบอลกว่า 250 ล้านคน และมีประเทศที่เป็นสมาชิกสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (F.I.B.A.) 208 ประเทศ 
สนามบาสเก็ตบอล

สนามบาสเกตบอล


เทคนิคพื้นฐานบาสเกตบอล

ตำแหน่งผู้เล่นและโครงสร้าง
  • ถึงแม้ว่าในกฎจะไม่กำหนดตำแหน่งใด ๆ ของผู้เล่น แต่เรื่องนี้มีวิวัฒนาการจนเป็นส่วนหนึ่งของบาสเกตบอล ในช่วงห้าสิบปีแรกของเกม จะใช้ การ์ดสองคน ฟอร์เวิร์ดสองคน และเซ็นเตอร์หนึ่งคนในการเล่น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการแบ่งชัดเจนขึ้นเป็น พอยท์การ์ด (หรือการ์ดจ่าย) ชู้ตติ้งการ์ด สมอลฟอร์เวิร์ด เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด และ เซ็นเตอร์ ในบางครั้งทีมอาจเลือกใช้ การ์ดสามคน แทนฟอร์เวิร์ดหรือเซ็ตเตอร์คนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า three guard offense
  •  การเล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบโซน (zone defense) และ แบบแมน-ทู-แมน (man-to-man defense) การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผนการเล่นเอาไว้
  • ส่วนการเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก การคัท (cut) หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การสกรีน (screen) หรือ พิก (pick) คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมในขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้าง ๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็นพิกแอนด์โรล (pick and roll) โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่าโรล) สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับเพื่อนร่วมทีม
  • โครงสร้างของการตั้งรับ การบุก และตำแหน่งการเล่น ถูกเน้นในการเล่นบาสเกตบอลระดับสูง และเป็นสิ่งที่โค้ชจะขอเวลานอกเพื่อคุยกับลูกทีม

การชู้ต

  • การชู้ตเพื่อทำคะแนนนั้น วิธีการจะแตกต่างกันไปขึ้นกับผู้เล่นและสถานการณ์ ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นเทคนิกพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด
  • ผู้เล่นเอาลูกไปพักบนปลายนิ้วมือข้างที่ถนัด ให้อยู่สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย ส่วนมืออีกข้างประคองด้านข้างลูก จากนั้นก็ยืดแขนข้างที่พักลูกให้เหยียดตรงให้ลูกลอยออกจากปลายนิ้วในขณะที่บิดข้อมือลง ปกติมืออีกข้างประคองลูกเพื่อควบคุมทิศการชู้ตเท่านั้น ไม่มีส่วนในการให้แรงส่ง
  • ผู้เล่นมักชู้ตลูกให้ลูกหมุนแบบแบ็คสปิน (backspin) กล่าวคือหมุนย้อนไปข้างหลังขณะที่ลูกเคลื่อนที่ไปยังห่วง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกกระดอนออกจากห่วงหลังจากการกระทบ ผู้เล่นส่วนมากชู้ตไปยังห่วงตรง ๆ แต่ในบางครั้งผู้ชู้ตอาจต้องชู้ตให้กระดอนกับแป้นแทน
  • วิธีการชู้ตที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ เซ็ตช็อต (set shot) และ จัมพ์ช็อต (jump shot) เซ็ตช็อตคือการชู้ตขณะที่ทั้งสองเท้ายังอยู่ติดพื้น ใช้ในการชู้ตฟรีโทรว์ ส่วนจัมพ์ช็อต คือการชู้ตขณะที่กำลังกระโดดโดยปล่อยลูกขณะที่ตัวอยู่ตำแหน่งลอยตัวสูงสุด การชู้ตวิธีนี้ให้กำลังมากกว่าและชู้ตได้ไกล อีกทั้งสามารถกระโดดลอยตัวเหนือผู้เล่นที่ยืนตั้งรับได้ด้วย
  • ผู้เล่นที่ชู้ตเก่งนอกจากจะมีสัมผัส การทรงตัว ความกล้า และการฝึกฝนที่ดีแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกโอกาสการชู้ตอีกด้วย ผู้เล่นระดับแนวหน้ามักชู้ตไม่พลาดเมื่อไม่มีผู้เล่นอื่นมาประกบ
แป้นบาสเกตบอล

การส่งบอล

  • ในการส่งบอล (pass) ระหว่างผู้เล่น ผู้ส่งมักส่งในจังหวะที่ก้าวไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มกำลังส่ง และอาศัยมือประคองในจังหวะที่ปล่อยลูกเพื่อช่วยเรื่องความแม่นยำ
  • การส่งพื้นฐานสุดแบบหนึ่งคือการส่งระดับอก (chest pass) โดยส่งโดยตรงจากอกของผู้ส่งลูกไปยังผู้รับลูก เป็นการส่งที่รวดเร็วที่สุด
  • การส่งอีกแบบคือแบบ bounce pass ผู้ส่งจะส่งจากระดับอก ให้ลูกบอลกระเด้งกับพื้นที่ระยะประมาณสองในสามจากผู้ส่ง ซึ่งลูกจะกระเด้งเข้าระดับอกของผู้รับพอดี มีประโยชน์เวลาที่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ในจุดซึ่งอาจแย่งลูกได้หากส่งลูกธรรมดา
  • การส่งแบบข้ามหัว (overhead pass) สำหรับส่งข้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม โดยจะส่งข้ามศีรษะของผู้ส่ง เล็งไปที่ระดับคางของผู้รับ
  • การส่งไม่จำเป็นต้องใช้กรณีที่ผู้เล่นอยู่ไกลกัน แต่อาจจะเป็นการยื่นลูกให้ผู้เล่นคนที่อยู่ข้าง ๆ ซึ่งกำลังเคลื่อนที่เข้าไปยังห่วงเพื่อทำคะแนน เป็นต้น
  • จุดสำคัญของการส่งลูกก็คือ จะต้องไม่ให้อีกฝ่ายแย่งหรือขโมยลูกไปได้ ด้วยเหตุนี้การส่งข้ามสนามไกล ๆ ที่เรียกว่าการส่งสกิป (skip pass) ถึงใช้กับแค่บางสถานการณ์เท่านั้น

การเลี้ยงลูก

  • การเลี้ยงลูกเป็นบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา ผู้เล่นไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า
  • เมื่อต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากสุด ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดระหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้
  • ผู้เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้

การเล่นรูปแบบอื่น ๆ

  • บาสเกตบอลยังมีการดัดแปลงการเล่นเป็นรูปแบบอื่น ๆ โดยยังคงใช้ทักษะทางบาสเกตบอล ตลอดจนอุปกรณ์การเล่น (มักได้แก่ลูกบาสเกตบอล และห่วง) การเล่นบางรูปแบบก็เป็นการเพียงเปลี่ยนกฎอย่างผิวเผิน แต่บางอย่างก็ถือเป็นเกมคนละชนิดไปเลย ซึ่งเกมเหล่านี้มักเป็นการเล่นไม่เป็นทางการ โดยไม่มีกรรมการ และกฎข้อบังคับที่เข้มงวด
  • เกมที่น่าจะพบบ่อยสุด คือการเล่นแบบ ฮาล์ฟคอร์ต (half court game) โดยใช้สนามเพียงครึ่งเดียว เมื่อมีการเปลี่ยนการครองบอล จะต้องเคลียร์ลูก คือส่งลูกออกไปยังเส้นครึ่งสนามหรือนอกเส้นชู้ตสามคะแนนก่อนถึงจะเล่นต่อได้ การเล่นแบบนี้ใช้พละกำลังและความแกร่งน้อยกว่าเพราะไม่ต้องวิ่งตลอดความยาวสนาม การเล่นแบบนี้ยังเป็นการใช้สนามอย่างคุ้มค่าขึ้น เนื่องจากสนามบาสสนามหนึ่งสามารถเล่นพร้อมกันสองเกม เมื่อมีคนมาเล่นในสนามเป็นจำนวนมาก เจ้าของสนามอาจบังคับว่าต้องเล่นในลักษณะฮาล์ฟคอร์ต
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง