ฟุตซอล
ประวัติฟุตซอล
คำว่า ฟุตซอล มีรากศัพท์มาจากภาษาสเปนหรือโปรตุเกส ที่ว่า FUTbol หรือ FUTebol และภาษาสเปนหรือฝรั่งเศสเรียกคำว่า Indoor เป็นคำว่า SALa เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า ฟุตซอล
กีฬาฟุตซอล ถือกำเนิดขึ้นในประเทศเเคนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1854 (พ.ศ. 2397) เนื่องจากเมื่อย่างเข้าหน้าหนาว หิมะตกคลุมทั่วบริเวณ ทำให้นักกีฬาไม่สามารถเล่นกีฬาฟุตบอลกลางเเจ้งได้ จึงหันมาเล่นฟุตบอลในร่ม โดยใช้โรงยิมบาสเกตบอลเป็นสนามเเข่ง ทำให้ช่วงนั้นเรียกกีฬาฟุตซอลว่า Indoor soccer (อินดอร์ซอคเกอร์) หรือ five a side soccer
ปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) โรเจอร์ เกรน ได้บัญญัติกฎเพื่อใช้เป็นมาตรฐานควบคุมกีฬาชนิดนี้ และใช้มาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นไม่นาน กีฬาชนิดนี้ก็เเพร่หลายไปทั่วโลก เป็นที่นิยมทั่วทั้งทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และแพร่กระจายไปทั่วโลก
ปี ค.ศ. 1965 (พ.ศ. 2508) มีการจัดการเเข่งขันฟุตซอลนานาชาติเป็นครั้งแรก และประเทศปารากวัยก็เป็นทีมชนะเลิศ ต่อจากนั้นก็มีการจัดเเข่งขันในระดับนานาชาติมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) มีการจัดฟุตซอลชิงแชมป์โลกขึ้นที่ประเทศบราซิล และเจ้าภาพเองก็เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะไป จึงมีการจัดการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการอีก 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) และ ปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ที่มีประเทศสเปนเเละออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ได้เข้ามาดูแลจัดการเเข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกอย่างเป็นทางการ
สนามฟุตซอล
สนามเเข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวเส้นข้างต้องยาวกว่าความยาวเส้นประตู โดยสนามมีความยาวต่ำสุด 25 เมตร สูงสุด 42 เมตร ความกว้างต่ำสุด 15 เมตร สูงสุด 25 เมตร
ลูกฟุตซอล
ลูกบอลต้องเป็นทรงกลม ทำด้วยหนังหรือวัสดุอื่น ๆ เส้นรอบวงไม้น้อยกว่า 62 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 64 เซนติเมตร ขณะการแข่งขัน ลูกบอลต้องมีความดันลม ไม่น้อยกว่า 400 กรัม ไม่มากกว่า 440 กรัม ความดันลมของลูกบอลจะอยู่ที่ ความดันลมของลูกบอล 0.4 0.6 ระดับบรรยากาศ
ผู้เล่น
จะมีผู้เล่นทั้งสองทีม ทีมละไม่เกิน 5 คนอยู่บนสนาม และหนึ่งใน 5 คนนี้ ต้องเป็นผู้รักษาประตู และอนุญาตให้มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 7 คน อนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำกัดจำนวน สามารถเปลี่ยนตัวได้ตลอดเวลา ผู้เล่นที่เปลี่ยนออกไปแล้วสามารถกลับเข้าไปเล่นใหม่ แต่ในกรณีที่ทีมหนึ่งที่เหลือผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน รวมผู้รักษาประตู จะต้องยกเลิกการเเข่งขัน
ผู้เล่นต้องไม่สวมใส่เครื่องประดับใด ๆ ที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น โดยอุปกรณ์เบื้องต้นมี
1. เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต
2. กางเกงขาสั้น (ถ้าสวมกางเกงปรับอุณหภูมิ สีของกางเกงนั้นจะต้องเป็นสีเดียวกันกับสีหลักของกางเกง
3. ถุงเท้ายาว
4. สนับแข้ง
5. รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหนังนิ่ม หรือรองเท้าออกกำลังกายพื้นยาง
ระยะเวลาการแข่งขัน
การแข่งขันทีทั้งหมด 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที และระยะเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งอาจเพิ่มเวลาเตะลูกโทษ ณ จุดโทษ ส่วนการขอเวลานอกนั้น ทั้งสองทีมมีสิทธิขอเวลานอก 1 นาที ในแต่ละครึ่งเวลา
การนับประตู
การนับประตูจะเป็นผลเมื่อบอลทั้งลูกผ่านเส้นประตูระหว่างเสาประตูใต้คานประตู แต่ต้องไม่มีการทำผิดกติกาโดยทีมที่ทำประตู ผู้รักษาประตูไม่สามารถทำประตูได้ด้วยมือ และผู้เล่นฝ่ายรุกไม่สามารถทำประตูได้ด้วยแขน
กติกาฟุตซอล
กลาง สนามมีวงกลมแสดงเขตห้ามเข้าตอนเขี่ยลูกเริ่มเล่นขนาดรัศมี 3 เมตร
แบ่ง เป็น 2 ฝั่งแต่ละฝั่งจะมีกรอบเขตโทษรัศมี 6 เมตรจากเส้นกรอบประตู
จุดโทษ จะอยู่บนเส้น ระยะ 6 เมตรจากกรอบประตู
จุดโทษที่ 2 ระยะ 10 เมตรจากกรอบประตู
เขตเปลี่ยนตัวห่างจากเส้นกึ่งกลางสนาม 5 เมตร ยาว 5 เมตร (ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตัวเข้าออกบริเวณนี้เท่านั้น)
ประตูยาว 3 เมตร สูง 2 เมตร
แบ่ง เป็น 2 ฝั่งแต่ละฝั่งจะมีกรอบเขตโทษรัศมี 6 เมตรจากเส้นกรอบประตู
จุดโทษ จะอยู่บนเส้น ระยะ 6 เมตรจากกรอบประตู
จุดโทษที่ 2 ระยะ 10 เมตรจากกรอบประตู
เขตเปลี่ยนตัวห่างจากเส้นกึ่งกลางสนาม 5 เมตร ยาว 5 เมตร (ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตัวเข้าออกบริเวณนี้เท่านั้น)
ประตูยาว 3 เมตร สูง 2 เมตร
2. ลูกบอล (The ball)
3. จำนวนผู้เล่น (The number of players)สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ไม่จำกัดจำนวน
ผู้เล่นที่ เปลี่ยนออกไปแล้ว เปลี่ยนกลับเข้ามาเล่นได้
การเปลี่ยนตัวสามารถทำได้ ตลอดเวลา (ไม่ว่าบอลจะตายหรือไม่ก็ตาม)
โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ ตัดสิน (ผู้ติดสินอนุญาตก็เปลี่ยนเข้าได้)
และต้องเปลี่ยนตัวเข้าออกตรง บริเวณเขตเปลี่ยนตัว 5 เมตรเท่านั้น (หากทำผิดโดนใบเหลืองเลยนะครับ)
และ ต้องให้ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนออกออกนอกสนามก่อน ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนเข้าจึงจะเข้าไปได้
การเริ่มเล่นต้องมีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน
ถ้าเล่นๆ ไปแล้วมีผู้เล่นโดยไล่ออกจนฝ่ายนึงเหลือผู้เล่นแค่ 2 คน (ประตู 1 ผู้เล่น 1) ให้ยกเลิกการแข่งขัน
4. อุปกรณ์ผู้เล่น (The players' equipment)เสื้อยืด หรือเสื้อเชิ้ต กางเกงขาสั้น (ยกเว้นผู้รักษาประตูใส่ขายาวได้) ถุงเท้ายาว สนับแข้ง รองเท้า
ผู้รักษา ประตูต้องใส่ชุดที่มีสีต่างจากผู้เล่นคนอื่น และผู้ตัดสิน
ถ้าผู้เล่น เปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตู ให้เปลี่ยนใส่เสื้อผู้รักษาประตูที่ติดเบอร์ตนเอง
5. ผู้ตัดสิน (The referee)
6. ผู้ตัดสินที่สอง (The second referee)
7. ผู้รักษาเวลา และผู้ตัดสินที่สาม (The timekeeper and the third referee)
8. ระยะเวลาการแข่งขัน (The duration of the match)
แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที พักครึ่งเวลาไม่เกิน 15 นาทีสามารถขอเวลานอกได้ครึ่งละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที
การขอเวลานอกกระทำได้ตลอดเวลา แต่จะให้ได้เมื่อทีมตนได้ส่งลูกเข้าเล่น
เมื่อได้เวลานอกผู้เล่นจะ ต้องอยู่ในสนาม ส่วนเจ้าหน้าที่ทีมก็ต้องไม่เข้ามาในสนาม (สอนกันตรงขอบสนาม)
ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวต้องรอให้จบการขอเวลานอกก่อน จึงจะเปลี่ยนตัวได้
เวลานอกที่ไม่ใช้ในครึ่งแรก ไม่สามารถนำไปใช้ในครึ่งหลังได้
ถ้ามีต่อเวลาพิเศษจะไม่มีการขอเวลานอก
9. การเริ่มเล่น และการเริ่มเล่นใหม่ (The start and restart of play)
ผู้ เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนตนเอง
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอล ไม่น้อยกว่า 3 เมตร (อยู่นอกวงกลมกลางสนาม)
ลูกบอลต้องเคลื่อนที่ไปข้าง หน้า
10. บอลอยู่ในการเล่น และอยู่นอกการเล่น (บอลตาย) (The ball in and out of play)
11. การทำประตู (The method of scoring)
ผู้ รักษาประตูไม่สามารถทำประตูได้จากการขว้างลูกจากประตู
12. การกระทำผิดกฎกติกา และมารยาท (Fouls and misconduct)การทำฟาวล์มี 2 ลักษณะ คือการฟาวล์ที่โดนโทษโดยตรง (Direct Free KickCyber Monday FRYE Women's Harness 12R Boot) กับโดนโทษโดยอ้อม (Indirect Free Kick)
โทษโดยตรง
การฟาวล์ที่โดนโทษโดยตรงจะนับรวมใน ฟาวล์รวมด้วย
ห้ามเตะ (Kick) ขัดขา (Trips) กระโดดเข้าใส่ (Jump) ชน (Charges) (รวมถึงชนด้วยใหล่ด้วย หลายๆ คนเข้าใจผิดว่าการชนด้วยใหล่คือการเบียด) ทำร้าย (Strikes) หรือผลัก (Pushes) คู่ต่อสู้ หากการกระทำดังกล่าวผู้ตัดสินพิจารณาว่ากระทำโดยขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองยั้งคิด หรือใช้กำลังเกินกว่าเหตุ จะโดนโทษโดยตรง
ห้าม ดึง (Holds) ถ่มน้ำลาย (Spits) หรือสไลด์ (Slides) ใส่คู่ต่อสู้ หรือเล่นลูกด้วยมือโดยเจตนา การกระทำดังกล่าวจะโดนลูกโทษโดยตรงทันที (ยกเว้นผู้รักษาประตูสามารถสไลด์ และใช้มือในเขตโทษของตนเองได้)
โทษโดย อ้อม
ผู้รักษาประตูไม่สามารถรับลูกที่ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันเจตนาเตะส่งมา ให้ได้
ผู้รักษาประตูครองบอล (ไม่ว่าด้วยมือหรือเท้า) ในเขตโทษตนเองเกินกว่า 4 วินาที
หลังจากขว้างลูกจากประตูแล้ว ผู้รักษาประตูไม่สามารถรับลูก (ด้วยมือ) ที่ส่งคืนจากผู้เล่น (ด้วยหัว อก ต้นขา ฯลฯ) หากลูกยังไม่ผ่านเส้นแบ่งครึ่งสนาม หรือถูกสัมผัสโดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย
เจตนา กีดขวางการเล่นของฝ่ายตรงข้าม (Obstruction)
ปัองกันผู้รักษาประตูไม่ให้ ขว้างลูก
ใบเหลือง ใบแดง คล้ายฟุตบอล (ไปดูเอง)
ผู้เล่นที่โดนใบแดงจะ ไม่สามารถกลับลงมาเล่นได้อีก และไม่อนุญาตให้อยู่บนม้านั่งสำรอง หรือบริเวณสนาม (ต้องออกนอกสถานที่แข่งไปเลย) โดยอนุญาตให้ผู้เล่นลงมาแทนได้ เมื่อครบเวลา 2 นาทีหลังให้ออก ยกเว้นเมื่อมีการทำประตูก่อนถึงเวลา 2 นาที โดยจะปฏิบัติดังนี้
หากเล่น โดยทั้ง 2 ทีมมีจำนวนผู้เล่นไม่เท่ากัน (5-4, 5-3, 4-3) และทีมที่มีผู้เล่นมากกว่าทำประตูได้ ทีมที่มีผู้เล่นน้อยกว่าจะได้รับอนุญาตให้ผู้เล่น 1 คนกลับลงไปเล่น (แทนผู้ที่ถูกไล่ออก) ได้
แต่หากทีมที่มีผู้เล่นน้อยกว่าทำประตูได้ ให้คงจำนวนผู้เล่นไว้เท่าเดิม
การเล่นโดยทั้ง 2 ทีมมีจำนวนผู้เล่นเท่ากัน (4-4, 3-3) และมีการทำประตูได้ก็ให้คงจำนวนผู้เล่นไว้เท่าเดิมเช่นกัน
13. การเตะโทษ (Free kicks)
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอลไม่น้อย กว่า 5 เมตร
ถ้าฝ่ายที่ได้เตะโทษใช้เวลาเกินกว่า 4 วินาที ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม
หลังจากขว้างลูกจากประตูแล้ว ผู้รักษาประตูไม่สามารถรับลูก (ด้วยมือ) ที่ส่งคืนจากผู้เล่น (ด้วยหัว อก ต้นขา ฯลฯ) หากลูกยังไม่ผ่านเส้นแบ่งครึ่งสนาม หรือถูกสัมผัสโดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย
เจตนา กีดขวางการเล่นของฝ่ายตรงข้าม (Obstruction)
ปัองกันผู้รักษาประตูไม่ให้ ขว้างลูก
ใบเหลือง ใบแดง คล้ายฟุตบอล (ไปดูเอง)
ผู้เล่นที่โดนใบแดงจะ ไม่สามารถกลับลงมาเล่นได้อีก และไม่อนุญาตให้อยู่บนม้านั่งสำรอง หรือบริเวณสนาม (ต้องออกนอกสถานที่แข่งไปเลย) โดยอนุญาตให้ผู้เล่นลงมาแทนได้ เมื่อครบเวลา 2 นาทีหลังให้ออก ยกเว้นเมื่อมีการทำประตูก่อนถึงเวลา 2 นาที โดยจะปฏิบัติดังนี้
หากเล่น โดยทั้ง 2 ทีมมีจำนวนผู้เล่นไม่เท่ากัน (5-4, 5-3, 4-3) และทีมที่มีผู้เล่นมากกว่าทำประตูได้ ทีมที่มีผู้เล่นน้อยกว่าจะได้รับอนุญาตให้ผู้เล่น 1 คนกลับลงไปเล่น (แทนผู้ที่ถูกไล่ออก) ได้
แต่หากทีมที่มีผู้เล่นน้อยกว่าทำประตูได้ ให้คงจำนวนผู้เล่นไว้เท่าเดิม
การเล่นโดยทั้ง 2 ทีมมีจำนวนผู้เล่นเท่ากัน (4-4, 3-3) และมีการทำประตูได้ก็ให้คงจำนวนผู้เล่นไว้เท่าเดิมเช่นกัน
13. การเตะโทษ (Free kicks)
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอลไม่น้อย กว่า 5 เมตร
ถ้าฝ่ายที่ได้เตะโทษใช้เวลาเกินกว่า 4 วินาที ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม
สัญญาณของผู้ตัดสิน (ดูภาพด้านล่าง)
โทษ โดยตรง ผู้ตัดสินจะยกแขนในแนวนอนชี้ไปในทิศทางของทีมที่กระทำผิด และนับเป็นการกระทำผิดรวม
โทษโดยอ้อม ผู้ตัดสินจะยกแขนชูขึ้นเหนือศีรษะจนกว่าการเตะจะเกิดขึ้น
14. การฟาวล์รวม (Accumulated fouls)
ฟุตซอลจะมีกฎการฟาวล์พิเศษคือการฟาวล์ รวม โดยจะอนุญาตให้ฟาวล์ได้ 5 ครั้ง (ที่เป็นลูกโทษโดยตรง)
ใน 5 ครั้งแรก
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสามารถตั้งกำแพงได้
โดยจะ อยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร
และผู้เตะสามารถทำประตูได้โดยตรง
ส่วนการทำ ฟาวล์รวมครั้งที่ 6 เป็นต้นไป
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามห้ามตั้ง กำแพง
ผู้เตะต้องแสดงตัว (ว่าจะเป็นผู้เตะ ไม่ให้หลอก)
ผู้รักษาประตู ต้องอยู่ในเขตโทษ และอยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร
ผู้เล่นคนอื่นๆ อยู่หลังแนวลูกบอล และห่างจากลูกบอล 5 เมตร
ผู้เตะต้องยิงประตูเท่านั้น ห้ามส่งให้เพื่อน
โดยหากการทำฟาวล์รวมนี้เกิดขึ้นระหว่างเส้นประตูของ ฝ่ายที่ถูกทำฟาวล์ และแนวจุดโทษที่ 2 ของฝ่ายที่ทำฟาวล์ ให้ตั้งเตะที่จุดโทษที่ 2 (10 เมตรจากเส้นประตู)
แต่หากทำฟาวล์ระหว่าง แนวจุดโทษที่ 2 ของฝ่ายที่ทำฟาวล์ และเส้นประตูของฝ่ายที่ทำฟาวล์ ให้เลือกได้ว่าจะตั้งเตะที่จุดเกิดเหตุ หรือที่จุดโทษที่ 2
15. ลูกจุดโทษ (The penalty kick)
ผู้รักษาประตูต้องอยู่บนเส้น ประตู
ผู้เล่นคนอื่นต้องอยู่นอกเขตโทษ และห่างจากลูกบอล 5 เมตร
16. เตะเข้าเล่น (The kick-in)
ลูกบอลต้องวางนิ่งบนเส้นข้าง
ผู้ เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร
ผู้เตะเข้าเล่นต้องเล่นภาย ใน 4 วินาที
โทษ โดยตรง ผู้ตัดสินจะยกแขนในแนวนอนชี้ไปในทิศทางของทีมที่กระทำผิด และนับเป็นการกระทำผิดรวม
โทษโดยอ้อม ผู้ตัดสินจะยกแขนชูขึ้นเหนือศีรษะจนกว่าการเตะจะเกิดขึ้น
14. การฟาวล์รวม (Accumulated fouls)
ฟุตซอลจะมีกฎการฟาวล์พิเศษคือการฟาวล์ รวม โดยจะอนุญาตให้ฟาวล์ได้ 5 ครั้ง (ที่เป็นลูกโทษโดยตรง)
ใน 5 ครั้งแรก
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสามารถตั้งกำแพงได้
โดยจะ อยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร
และผู้เตะสามารถทำประตูได้โดยตรง
ส่วนการทำ ฟาวล์รวมครั้งที่ 6 เป็นต้นไป
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามห้ามตั้ง กำแพง
ผู้เตะต้องแสดงตัว (ว่าจะเป็นผู้เตะ ไม่ให้หลอก)
ผู้รักษาประตู ต้องอยู่ในเขตโทษ และอยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร
ผู้เล่นคนอื่นๆ อยู่หลังแนวลูกบอล และห่างจากลูกบอล 5 เมตร
ผู้เตะต้องยิงประตูเท่านั้น ห้ามส่งให้เพื่อน
โดยหากการทำฟาวล์รวมนี้เกิดขึ้นระหว่างเส้นประตูของ ฝ่ายที่ถูกทำฟาวล์ และแนวจุดโทษที่ 2 ของฝ่ายที่ทำฟาวล์ ให้ตั้งเตะที่จุดโทษที่ 2 (10 เมตรจากเส้นประตู)
แต่หากทำฟาวล์ระหว่าง แนวจุดโทษที่ 2 ของฝ่ายที่ทำฟาวล์ และเส้นประตูของฝ่ายที่ทำฟาวล์ ให้เลือกได้ว่าจะตั้งเตะที่จุดเกิดเหตุ หรือที่จุดโทษที่ 2
15. ลูกจุดโทษ (The penalty kick)
ผู้รักษาประตูต้องอยู่บนเส้น ประตู
ผู้เล่นคนอื่นต้องอยู่นอกเขตโทษ และห่างจากลูกบอล 5 เมตร
16. เตะเข้าเล่น (The kick-in)
ลูกบอลต้องวางนิ่งบนเส้นข้าง
ผู้ เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร
ผู้เตะเข้าเล่นต้องเล่นภาย ใน 4 วินาที
17. การขว้างลูกจากประตู (The goal clearance)
ผู้ รักษาประตูต้องขว้างลูก (ด้วยมือ) จากเขตโทษของตน (ตรงจุดใดก็ได้) ออกไปนอกเขตโทษโดยตรง (จะไหลโดยให้บอลตกในเขตโทษก่อนไม่ได้) ภายใน 4 วินาที
ผู้ รักษาประตูไม่สามารถเล่นลูกได้เป็นครั้งที่ 2 นอกจากผู้เล่นคนอื่นจะสัมผัสบอลแล้ว (ห้ามโยนลงพื้นแล้วเตะ)
ผู้เล่นฝ่าย ตรงข้ามต้องอยู่นอกเขตโทษ
18. ลูกเตะมุม (The corner kick)
ผู้ เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร
ผู้เตะต้องเตะลูกภายใน 4 วินาที
เพิ่มเติม
การเตะจุดโทษหาผู้ชนะ
เตะฝ่ายละ 5 คน (เลือกผู้เตะได้จากผู้เล่นทั้งหมด 12 คน ยกเว้นผู้ที่โดนไล่ออก)
หากการ แข่งจบลงแต่จำนวนผู้เล่นของทั้ง 2 ทีมไม่เท่ากัน ให้ทีมที่มีผู้เล่นมากกว่า เลือกผู้เล่นออกไปให้เหลือจำนวนผู้เล่นเท่ากัน
สัญญาณผู้ตัดสิน
ผู้เล่นฝ่าย ตรงข้ามต้องอยู่นอกเขตโทษ
18. ลูกเตะมุม (The corner kick)
ผู้ เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอล 5 เมตร
ผู้เตะต้องเตะลูกภายใน 4 วินาที
เพิ่มเติม
การเตะจุดโทษหาผู้ชนะ
เตะฝ่ายละ 5 คน (เลือกผู้เตะได้จากผู้เล่นทั้งหมด 12 คน ยกเว้นผู้ที่โดนไล่ออก)
หากการ แข่งจบลงแต่จำนวนผู้เล่นของทั้ง 2 ทีมไม่เท่ากัน ให้ทีมที่มีผู้เล่นมากกว่า เลือกผู้เล่นออกไปให้เหลือจำนวนผู้เล่นเท่ากัน
สัญญาณผู้ตัดสิน
ข้อมูลผู้ตัดสิน
อำนาจหน้าที่ของผู้ตัดสิน
การแข่งขันแต่ละครั้งจะถูกควบคุมโดยผู้ตัดสิน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจและปฏิบัติหน้าที่ตามที่กติกาแข่งขันกำหนดไว้นับตั้งแต่ได้ก้าวเข้าสู่สถานที่ตั้งของสนามแข่งขัน และจะสิ้นสุดเมื่อได้ออกจากสนามที่ตั้งนั้นไป
อำนาจและหน้าที่ (Powers and duties)
- ผู้ตัดสินต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
- ผู้ตัดสินต้องอนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปเมื่อทีมที่ถูกกระทำผิดจะเกิดการได้เปรียบจากการให้ประโยชน์ (Advantage) ถ้าการคาดคะเนในการได้เปรียบนั้นไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ในขณะนั้น ก็จะลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกนั้นได้
- ผู้ตัดสินต้องทำการบันทีกรายงานการแข่งขัน ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมระเบียบวินัยทุกอย่างที่กระทำกับผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ทีมและเหตุการณ์อื่นๆ ทุกกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน หรือภายหลังการแข่งขัน
- ผู้ตัดสินต้องทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลาในกรณีที่ไม่มีผู้รักษาเวลา
- ผู้ตัดสินต้องหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขันในกรณีที่มีการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน หรือเมื่อเห็นว่ามีเหตุจำเป็นต่างๆ เช่น การรบกวนการแข่งขันจากภายนอกสนาม
- ผู้ตัดสินสามารถคาดโทษ และให้ออก ถ้าผู้เล่นกระทำผิด
- ผู้ตัดสินต้องแน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามการแข่งขัน
- ผู้ตัดสินต้องหยุดการเล่นเมื่อเห็นว่าผู้เล่นได้รับบาดเจ็บอย่างร้ายเเรง (Seriously Injured)และเคลื่อนย้ายผู้เล่นออกจากสนามแข่งขัน
- ผู้ตัดสินต้องอนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าลูกบอลจะอยู่นอกการเล่น ถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
- ผู้ตัดสินต้องพิจารณาลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาข้อ 2
การพิจารณาตัดสินใจของผู้ตัดสิน (Decisions the Referee)
การพิจารณาตัดสินใจของผู้ตัดสนที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการแข่งขันถือเป็นข้อยุติ
ข้อตกลง (Decisions)
- ถ้าผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่2 แสดงสัญญาณการกระทำผิดพร้อมกันและเป็นการขัดแย้งกัน ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบจะต้องทำตามการตัดสินใจของผู้ตัดสิน
- ผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่2 สามารถคาดโทษและให้อกแต่ในกรณีที่เขาเกิดความขัดแย้งจะต้องทำตามการตัดสินใจของผู้ตัดสิน
ผู้ตัดสินที่2
หน้าที่ (Duties)
- ผู้ตัดสินที่2 ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านตรงข้ามของสนามแข่งขันกับผู้ตัดสิน เขาได้รับอนุญาตให้ใช้นกหวีดได้
- ผู้ตัดสินที่2 จะช่วยเหลือผู้ตัดสินในการควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน
- ผู้ตัดสินที่2 มีอำนาจในการสั่งหยุดการเล่นเมื่อมีการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน
- ผู้ตัดสินที่2 จะต้องแน่ใจว่าการเปลี่ยนตัวผู้เล่นปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ข้อตกลง (Decisions)ในการแข่งขันระหว่างชาติ ต้องมีผู้ตัดสินที่2
ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3
หน้าที่ (Duties)
- ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 ต้องได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่นั่งอยู่ด้านนอกสนามที่เส้นแบ่งแดนด้านเดียวกับเขตเปลี่ยนตัว
- ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 จะใช้นาฬิกาจับเวลาที่เหมาะสม และจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่แสดงให้เห็นการกระทำผิดกติการวม ซึ่งทางสมาคมและสโมสรที่เป็นเจ้าของสนามจัดเตรียมไว้ให้ก่อนเริ่มการแข่งขัน
ผู้รักษาเวลา
- ต้องแน่ใจว่าเวลาของการแข่งขันเป็นไปตามข้อกำหนดของกติกาข้อ8 โดยปฏิบัติดังนี้
- เริ่มจับเวลาของตนเองหลังจากการเตะเริ่มเล่น
- หยุดเวลาเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น
- เริ่มจับเวลาภายหลังการเตะเข้าเล่น การเล่นลูกจากประตู การเตะจากมุม การเตะโทษ ณ จุดโทษ หรือการเตะโทษจุดโทษที่2 การขอเวลานอก หรือการปล่อยลูกบอล
- ควบคุมการขอเวลานอก 1 นาที
- ควบคุมระยะเวลาของการลงโทษ 2 นาที เมื่อผู้เล่นถูกไล่ออก
- เป็นผู้แจ้งเมื่อหมดเวลาการแข่งขันในครึ่งเวลาแรกครึ่งเวลาหลัง เมื่อหมดเวลาในช่วงการต่อเวลาพิเศษ และหมดเวลาการขอเวลานอกโดยการใช้สัญญาณนกหวีดหรือเสียงสัญญาณอื่นๆ ที่ชัดเจนและแตกต่างจากเสียงสัญญาณของผู้ตัดสิน
- เป็นผู้บันทึกการขอเวลานอก และการรักษาเวลานอกของแต่ละทีม ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินและทีมที่เข้าแข่งขันทราบข้อเท็จจริง การอนุญาตการขดเวลานอกเมื่อผู้ฝึกสอนทีมใดทีมหนึ่งต้องการร้องขอ
- เป็นผู้บันทึกการกระทำผิดกติการวม 5 ครั้งแรกของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลา ซึ่งมีการจดบันทึกโดยแจ้งสัญญาณเมื่อมีการกระทำผิดครั้งที่5 ให้ผู้ตัดสินและแต่ละทีมทราบ
ผู้ตัดสินที่3
ผู้ตัดสินที่3 จะเป็นผู้ช่วยในการรักษาเวลา
- เป็นผู้บันทึกการกระทำผิดกติการวม 5 ครั้งแรกของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลาของการแข่งขัน ซึ่งมีการจดบันทึกโดยผู้ตัดสิน และให้สัญญาณเมื่อมีการกระทำผิดครั้งที่5 ให้แต่ละทีมทราบ
- เป็นผู้บันทึกเกี่ยวกับการหยุดการแข่งขัน และเหตุผลของการหยุดการแข่งขัน
- เป็นผู้บันทึกหมายเลขผู้เล่นที่ทำประตูได้
- เป็นผู้บันทึกหมายเลขผู้เล่นที่ถูกคาดโทษ หรือไล่ออก
- เป็นผู้บันทึกข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน
ในกรณีที่มีผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3 ปฏิบัติตนหรือประพฤติตนไม่เหมาะสม ผู้ตัดสินสามารถเปลี่ยนออกจากการปฏิบัติหน้าที่และให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาต่อไป
ในกรณีที่ผู้ตัดสินมีการบาดเจ็บ ผู้ตัดสินที่3 อาจเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ตัดสินหรือผู้ตัดสิน ที่2ได้
ข้อตกลง (Decisions)
- ในการแข่งขันระหว่างชาติ ต้องมีผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่3
- ในการแข่งขันระหว่างชาติ นาฬิกาจับเวลาจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ (จับเวลาได้เที่ยงตรงมีกลไกการจับเวลา 2 นาทีของการกระทำผิดสำหรับผู้เล่น 4 คนในเวลาเดียวกันได้และมีเครื่องสัญญาณแสดงการกระทำผิดรวมของแต่ละทีมในแต่ละครึ่งเวลา
ระยะเวลาของการแข่งขัน
ช่วงเวลาของการเล่น
การแข่งขันแบ่งระยะเวลาออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาทีเท่ากัน การรักษาเวลาเป็นหน้าที่ของผู้รักษาเวลา ซึ่งมีหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ7 ระยะเวลาของการแข่งขันแต่ละครึ่งอาจมีการเพิ่มเวลาเพื่อการเตะโทษ ณ จุดโทษ
เวลานอก
ทั้งสองทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอก เป็นระยะเวลา 1นาที ได้ในแต่ละครึ่งเวลา ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
- ผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการขอเวลานอก 1นาทีจากผู้รักษาเวลา2. การขอเวลานอกสามารถกระทำได้ตลอดเวลา แต่จะให้เวลานอกเมื่อทีมได้ครอบครองบอล(ส่งบอลเข้าเล่น)
- ผู้รักษาเวลาต้องแสดงการอนุญาตสำหรับการขอเวลานอกของทีมเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น โดยการใช้สัญญาณนกหวีดหรือเสียงสัญญาณอื่นๆที่แตกต่างจากผู้ตัดสินใช้อยู่
- เมื่ออนุญาตให้เป็นเวลานอก ผู้เล่นทุกคนต้องรวมกันอยู่ในสนามแข่ง ถ้าต้องการได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทีม จะกระทำได้เฉพาะที่เส้นข้างบริเวณหน้าที่นั่งสำรองของตนเอง ผู้เล่นทุกคนต้องไม่ออกนอกสนามแข่งขัน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ที่ให้คำแนะนำ จะต้องไม่เข้าไปในสนามแข่งขัน
- ถ้าทีมไม่ใช่สิทธิ์การขอเวลานอกในครึ่งเวลาแรก จะไม่สามารถนำไปทดแทนกันได้ในครึ่งเวลาหลังการพักครึ่งเวลา (Half-time Interval) ต้องไม่เกิน 15 นาที
ข้อตกลง (Decisions)
- ถ้าไม่มีผู้รักษาเวลา ผู้ฝึกสอนต้องขอเวลานอกกับผู้ตัดสิน
- ถ้าระเบียบการแข่งขันระบุให้มีการต่อเวลาพิเศษในกรณีที่การแข่งขันในเวลาปกติ ถ้าผลการแข่งขันจบลงด้วยการเสมอกัน การแข่งขันในระหว่างการต่อเวลาพิเศษของการแข่งขันจะไม่มีการขอเวลานอก
การเริ่มเล่นและการเริ่มเล่นใหม่
การเตรียมการเบื้องต้น (Preliminaries)
การเลือกแดนกระทำโดยการเสี่ยงด้วยเหรียญ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นผู้เลือกประตูในการรุกในครึ่งเวลาแรกของการแข่งขันอีกทีมจะเป็นฝ่ายเตะเริ่มเล่น เพื่อเริ่มต้นการแข่งขันทีมที่ชนะการเสี่ยงจะทำการเตะเริ่มเล่นในครึ่งเวลาหลังของกาแข่งขันทั้งสองจะเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลังชองกางแข่งขันและทำการรุกประตูฝ่ายตรงข้าม
การเตะเริ่มเล่น
การเตะเริ่มเล่น เป็นการเริ่มเล่นหรือเป็นการเริ่มเล่นใหม่
- เมื่อเริ่มต้นการเเข่งขัน
- หลังจากทำประตูได้
- เมื่อเริ่มต้นการเเข่งขันครึ่งเวลาหลัง
- เมื่อเริ่มต้นการเเข่งขันแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษโดยไม่มีการพัก สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะเริ่มเล่น
ขั้นตอนในการดำเนินการ (Procedure)
- ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนของตนเอง
- ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับทีมที่กำลังเตะเริ่มเล่นต้องอยู่ห่างจากลูกบอลไม่น้อยกว่า 3 เมตร จนกระทั่งลูกบอลอยู่ในการเล่น
- ลูกบอลต้องวางนิ่งอยู่บนจุดกึ่งกลางสนาม
- ผู้ตัดสินให้สัญญาณ
- ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
- ผู้เตะไม่สามารถเล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองจนกว่าลูกบอลจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่นก่อน ภายหลังที่ทีมหนึ่งทำประตูได้อีกทีมหนึ่งจะเป็นฝ่ายได้เตะเริ่มเล่น
การกระทำผิดและการลงโทษ
ถ้าผู้เตะได้สัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่สองก่อนที่ลูกจะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น การเตะโทษโดยอ้อม จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นภายในบริเวณเขตโทษของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม การเตะโทษโดยอ้อมจะกระทำจากเส้นเขตโทษ ณ จุดที่ใกล้ที่สุดกับที่การกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นมากที่สุด การกระทำผิดอื่นๆของการเตะเริ่มเล่น ให้ทำการเตะเริ่มเล่นใหม่
การปล่อยลูกบอล
การปล่อยลูกบอลเป็นวิธีการหนึ่งของการเริ่มเล่นใหม่ หลังจากการเล่นได้หยุดลงชั่วคราวขณะที่ลูกบอลอยู่ในการเล่น และขณะที่หยุดเล่นในเวลานั้น หรือด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกาการแข่งขัน ลูกบอลยังไม่ได้ผ่านออกเส้นข้างหรือเส้นประตู
ขั้นตอนในการดำเนินการ
ผู้ตัดสินเป็นผู้ปล่อยลูกบอล ณ จุดที่ซึ่งลูกบอลอยู่ในขณะที่การเล่นได้หยุดลง ยกเว้นเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบริเวณเขตโทษ ในกรณีนี้ผู้ตัดสินจะปล่อยลูกบอลจากเขตโทษ ณ จุดใกล้กันกับลูกบอลมากที่สุดในขณะที่การเล่นได้หยุดลง การเริ่มเล่นใหม่จะสมบูรณ์เมื่อลูกบอลได้สัมผัสพื้นสนาม
การกระทำผิดและการลงโทษ
การปล่อยลูกบอลอีกครั้งหนึ่ง
- ถ้าลูกบอลถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนหนึ่งคนใดก่อนที่ลูกบอลจะสัมผัสสนาม
- ถ้าลูกบอลออกจากสนามการแข่งขันไปหลังจากสัมผัสพื้นสนามแล้ว แต่ไม่ถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น